วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
เป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อและแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปยังลูก พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และพบผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร
ผู้ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร

ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน อ่านเพิ่มเติม

เบาหวาน diabetes

      เบาหวาน diabetes
      เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นฮีโมฟิเลียทั่วโลกประมาณ 400,000 ราย อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคเลือดออกไหลไม่หยุด หรือโรคฮีโมฟีเลีย

       ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) เป็นโรคเลือดออกผิดปกติที่พบได้ไม่ถึงกับบ่อยนักแต่ก็พบได้เรื่อยๆ เป็นโรคที่ก่อปัญหาสำคัญทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ต่อผู้ป่วยและครอบครัวตลอดชีวิตของผู้ป่วย และเป็นปัญหาในเรื่องงบประมาณของประเทศ เพราะการป้องกันเลือดออกและการรักษาใช้งบประมาณมหาศาล
พบอุบัติการณ์โรคฮีโมฟิเลีย ประมาณ 1:5,000 ในผู้ชาย โดยประมาณ 85% เป็นฮีโมฟิเลีย เอ (Hemophilis A, ผู้ป่วยขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดที่เรียกว่า Factor VIII) และประมาณ 10-15% เป็นฮีโมฟิเลียบี (Hemophilia B,ผู้ป่วยขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดที่เรียกว่า Factor IX)
ในประเทศไทย พบฮีโมฟิเลียประมาณ 1 รายต่อประชากร 20,000 คน
ในสหรัฐอเมริกา พบฮีโมฟิเลีย เอ 100 รายต่อประชากรชาย 1 ล้านคน
ฮีโมฟิเลีย บี 20 รายต่อประชากรชาย 1 ล้านคน
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นฮีโมฟิเลียทั่วโลกประมาณ 400,000 ราย อ่านเพิ่มเติม

โรคตาบอดสี

          ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

          ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระ ดับที่พอ ๆ กัน ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะ ทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นในที่สลัว ๆ เราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้ แต่ยังพอบอก รูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานในเซลของกลุ่มแรกอยู่ เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้นเราจึงมองเห็นสีต่าง ๆ ขึ้นมา อ่านเพิ่มเติม

โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม

         โรคติดต่อทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่สามารถเกิดขึ้นด้วยสาเหตุ ความผิดปกติของยีน ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก โดยความผิดปรกติ นี้เกิดขึ้นจาก หน่วยของพันธุกรรม มีการผ่าเหล่าผ่ากอ ผิดแปลกไปจากบรรพบุรุษ จึงทำให้หน่วยพันธุกรรม มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั่นเอง
         โรคติดต่อ ทางพันธุกรรม เป็นโรคที่ปัจจุบันทางการแพทย์ ยังไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ จึงทำให้ติดตัวไปตลอดชีวิต โดยโรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่ง ความผิดปรกติ ของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปรกติของ โครโมโซมเพศ และความผิดปรกติ ของโครโมโซมร่างกาย หรือ (ความผิดปรกติของออโตโซม) เนื่องจาก โรคติดต่อ ทางพันธุกรรม ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เป็น โรค ติดต่อ ทางพันธุกรรม ก่อนแต่งงาน รวมไปถึงก่อนที่ จะตัดสินใจมีบุตร ควรจะ ปรึกษาแพทย์ ถึงความเสี่ยงต่อการที่ลูกจะเป็นโรค หรือบางโรคก็สามารถ ตรวจพบได้ ในระหว่าง ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยง ที่ลูกจะเป็น โรคทางพันธุกรรมได้ อ่านเพิ่มเติม

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
     ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  1. ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
  2. ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม


โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)
เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมผลิตกาแฟ อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง ขนมปัง การทำเฟอร์นิเจอร์ อ่านเพิ่มเติม